ฟาร์มวัวเนื้อต่างประเทศมีการจัดการของเสียอย่างไร

Cowfarm

อีกสิ่งหนึ่งสำหรับผู้ที่ทำอาชีพฟาร์มวัวเนื้อต้องให้ความสำคัญไม่แพ้การเลี้ยงดูวัวเนื้อให้ดีที่สุดเลยก็คือ “การจัดการของเสีย” ที่ถือว่าต้องใช้ความละเอียดอ่อนให้การคิด วิเคราะห์  และลงมือทำอย่างดีที่สุดเพื่อให้ได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ ไม่เป็นภาระแก่ตนเอง และผู้อื่น  และหากใครที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการของเสียในส่วนของฟาร์มวัวเนื้อต่างประเทศ ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีแนวคิด มีวิธีการอย่างไรน่าสนใจบ้าง สามารถศึกษาไปพร้อมๆ กับพวกเราได้ผ่านบทความนี้เลย

การเลี้ยงวัวเนื้อในต่างประเทศ

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจการเลี้ยงดูวัวเนื้อในต่างประเทศสักเล็กน้อย โดยการเลี้ยงวัวเนื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่จะเลี้ยงในระบบเปิด คือสร้างคอกในลานกว้างแล้วปล่อยวัวเนื้อเข้าไป ซึ่งพอถึงเวลาก็จะนำกลับเข้าคอกในระบบปิด มีหลังคา มีรั้วรอบขอบชิด แต่ก็จะยังคงมีช่องระบายอากาศเพื่อไม่ให้เกิดความอบอ้าวใดๆ ทั้งนี้ นอกจากจะเลี้ยงวัวเนื้อแล้ว ก็จะมีการปลูกข้าวบาร์เลย์ ปลูกข้าวสาลีไว้เองด้วยเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์จัดเก็บเรียงไว้ในโกดัง ไม่ต้องไปซื้อ ทำให้หมดห่วงเรื่องอาหารการกินไปได้บ้าง โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงจะเป็นโคพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ เป็นต้น

แล้วการจัดการของเสียล่ะ?

การจัดการของเสียวัวเนื้อในต่างประเทศจะค่อนข้างเหมือนๆ กัน คือพยายามไม่ให้เกิดความเดือดร้อนทั้งทางกลิ่น  และทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ โดยจะมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทำบ่อพักน้ำเสีย

แม้ว่าจะมีการเลี้ยงดูในระบบเปิดตามพื้นหญ้า แต่พวกเขาก็จะมีการทำบ่อพักน้ำเสียไว้ด้วย ซึ่งจะทำกี่บ่อนั้นก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ฟาร์ม โดยจะเป็นการนำน้ำเสียมาพักไว้ก่อนที่จะปล่อยให้ไหลลงสู่พื้นดิน หรือแหล่งน้ำสาธารณะ พูดง่ายๆ ก็คือพักน้ำเสียที่อาจจะมีเศษตะกอนเป็นชิ้นๆ มาทำให้ตกตะกอนก่อน เพื่อที่จะได้ปล่อยน้ำใสๆ ทิ้ง หรือไปใช้รดไร่ข้าวต่างๆ ที่ปลูกให้วัวเนื้อกิน

2. ทำลานตากขนาดใหญ่

ลานตากที่ว่านี้จะเอาไว้ใช้ตากมูลวัวเนื้อนั่นเอง ซึ่งลักษณะการทำสามารถทำไว้ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ฟาร์มก็ได้ เอาที่สบายใจ แต่ต้องเป็นลานตากที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง หรือมีโรงเรือนกันในกรณีที่ฝนตกลงมาจะได้ไม่ถูกมูล ถามว่าตากมูลไปทำไมก็เพื่อให้มูงของวัวเนื้อที่ในตอนแรกอาจจะเปียกๆ ก็แห้งไวขึ้น ไม่ทำให้บรรยากาศการเลี้ยงดูสกปรกเพราะปัญหาเรื่องกลิ่น รวมถึงเหล่าแมลงวันที่ชอบมาตอมก็จะลดน้อยลง นอกจากนี้ การนำมูลวัวเนื้อมาตากยังช่วยในเรื่องรายได้เสริมที่เอาไปขาย ไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชอื่นๆ

3. บ่อหมักแก๊สชีวภาพก็ต้องทำด้วย

วิธีที่ 3 จะเป็นการทำบ่อหมักที่มีขนาดใหญ่วางเรียงๆ ไว้เลย (ในกรณีที่ฟาร์มมีพื้นที่กว้าง แต่หากพื้นที่น้อยก็บ่อเดียวก็ได้) เพื่อที่จะเอาทั้งน้ำเสีย มูลสัตว์ที่ได้ใส่รวมกับลงบ่อหมักนี้ไป นอกจากจะกำจัดกลิ้นไม่พึงประสงค์แล้ว ก็ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คิดว่าไร้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี เพราะการหมักทั้ง 2 อย่างสามารถนำไปขายต่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ดิน หรือตัวเรา หรือแก่อากาศ ฯลฯ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการจัดการของเสียภายในฟาร์มวัวเนื้อต่างประเทศที่ได้ผลดีที่สุด ซึ่งหากเจ้าของฟาร์มคนไหนศึกษาแล้วอยากลองนำไปทำตามก็สามารถลงมือได้เลย เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตนเอง  และผู้อื่นเดือดร้อนไปกับสิ่งสกปรกต่างๆ แล้ว ก็ยังช่วยลดมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ทำให้อากาศในละแวกนั้นน่าอยู่ขึ้นด้วยนะ