
ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเนื้อสัตว์ได้ในราคาที่ค่อนข้างถูกในประเทศเยอรมนี แต่นั่นอาจจะเปลี่ยนไป ในขณะที่ผู้ร่างกฎหมายของรัฐบาล กลับมามุ่งเป้าไปที่การปกป้องสภาพภูมิอากาศ และสวัสดิภาพสัตว์ นักการเมืองชาวเยอรมันจาก Social Democrats (SPD) และ Greens เสนอให้เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของ “เนื้อสัตว์”เป็นอัตรามาตรฐานที่ 19% ปัจจุบันเนื้อสัตว์ถูกเก็บภาษีในอัตราที่ลดลง 7% เหมือนกับอาหารส่วนใหญ่
เขากล่าวว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้ จะเป็นการช่วยเหลือในสวัสดิภาพสัตว์ ในขณะที่สมาชิกจาก Social Democrats ได้เสริมเข้ามาว่า การเพิ่มภาษีเนื้อสัตว์ขึ้นไปที่ 19% ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะเห็นประโยชน์มากสุดในอนาคต ผู้ร่างกฎหมายเสนอให้ใช้เงินทุนเพิ่มเติมที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มภาษี เพื่อสนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศ แต่มันก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า วิธีนี้มันจะได้ผลอย่างที่พวกเขาคาดเอาไว้หรือเปล่า
โฆษกการเกษตรจาก Chancellor Angela Merkel ของ Christian Democrats (CDU) เปิดรับแผนภายใต้เงื่อนไขเดียว โดยกล่าวเอาไว้ว่า “การเพิ่มภาษีอาจเป็นข้อเสนอที่สร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามรายได้ภาษีเพิ่มเติมควรถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปศุสัตว์เพื่อช่วยในการปรับโครงสร้าง” ในขณะที่ทางฝ่ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเยอรมันบอกว่า ข้อเสนอนี้ควรเน้นความสำคัญของการสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ท่ามกลางการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ลดลง แต่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มในเนื้อสัตว์เพื่อทำเช่นนั้น
มันมีโอกาสสำเร็จมีมากแค่ไหนกัน
การบริโภคเนื้อสัตว์ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยที่อาหารประเภทปราศจากเนื้อสัตว์ เช่น “มังสวิรัติ” กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงที่สุด อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขาเรียกร้องให้มีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางแบบองค์รวมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เรามักจะเข้าใจราคาเนื้อสัตว์ในซุปเปอร์มาร์เก็ตแบบผิดๆ การศึกษาจากนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยออกสบูร์กเปิดเผยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ที่เกิดจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการผลิตเนื้อสัตว์ จากการหาปริมาณและการสร้างรายได้จากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศเยอรมนี นักวิจัยพบว่าเนื้อสัตว์ที่มาจากฟาร์มจะมีราคามากเป็นสามเท่าของราคาที่ผู้บริโภคจ่ายจริง นั่นคือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมร้อยละ 196 เปอร์เซ็น เมื่อเนื้อสัตว์ได้มาจากสัตว์ที่เลี้ยงแบบออร์แกนิก ค่าใช้จ่ายแอบแฝงเหล่านี้จะสูงกว่าราคาที่โฆษณาไว้บนชั้น 82 เปอร์เซ็น
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวคำนวณโดยการหาปริมาณปัจจัยสามประการในการเลี้ยงสัตว์ มลพิษที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นยังคงไม่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นผู้จัดหาน้ำต้องลงทุนในระบบการกรอง เพื่อกำจัดไนเตรตจากน้ำดื่มซึ่งเป็นผลมาจากการทำฟาร์ม ค่าใช้จ่ายนี้เป็นภาระของผู้บริโภค ไม่ได้อยู่ในราคาเนื้อสัตว์ แต่อยู่ในค่าสาธารณูปโภค